สาระน่ารู้


กบทอดกระเทียม อร่อยแบบง่ายๆ

กบทอดกระเทียม/จากเน็ต
กบทอดกระเทียม เป็นอาหารอีกเมนูที่น่าอร่อย สำหรับชาวชนบทย่างเข้าหน้าฝน กบออกมาร้อง อ๊อบๆ เชิญชวนให้มานำไปทำอาหาร จนเดี๋ยวนี้ กบในธรรมชาติแทบจะหาไม่ได้ง่ายๆแล้ว ผมเองไม่ค่อยถนัดกับอาหารที่แตกต่างออกไปจากปกติเท่าไร ดังนั้นเวลาได้กลิ่นหอมของกบทอดกระเทียมถึงจะชวนเชิญให้กินขนาดไหน แต่ใจนึงก็ไม่ค่อยอยากลอง ทั้งๆที่กบทอดกระเทียมมีกลิ่นหอมน่ากินมากๆ ก็เลยไม่ได้ลองกินซักที

วันนี้เชฟสุรินทร์มีเมนูตามธรรมชาติ ด้วยเห็นว่าฤดุฝนมาเยือนหลายวันแล้ว ในตลาดก็มีกบมาขายกันบ่อยๆ เลยมีเมนูเอาใจขาโจ๋ ด้วยการแนะนำให้ทำ กบทอดกระเทียม ตามมาครับ วิธีทำกบทอดกระเทียมที่เชฟใหญ่แห่งครัวระเบียงปายแนะนำนั้นเป็นอย่างไรบ้าง

ส่วนประกอบและวิธีทำ กบทอดกระเทียม
1 กบ 1/2 กิโลกรัม สับหัวล้างขี้ออกให้หมด  สับเป็นชิ้นพอคำ ซับน้ำให้แห้ง
2 พริกไทยดำ 1 ช้อนชา , กระเทียม 1 ช้อนโต๊ะ ตำให้แหลก เติมซีอิ้วขาว 1 ช้อนโต๊ะ , น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา เคล้าให้เข้ากัน นำเนื้อกบที่เตรียมไว้ลงคลุกหมักไว้ซักครู่
3 ตั้งกะทะใส่น้ำมันเปิดไฟแรง น้ำมันร้อนแล้วค่อยหรี่ใช้ไฟกลาง นำกบที่หมักดีแล้วชุบแป้งโกกิ(ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ) แล้วนำลงทอด พอสุกเหลืองกรอบ ตักขึ้นสะเด็ดน้ำมัน วางในจาน แล้วทอดใบมะกรูดและใบกระเพราในน้ำมันที่ทอดกบต่อเลย พอกรอบดีแล้วก็ตักวางบนกบทอด โรยหน้าด้วยกระเทียมเจียวและพริกไทยป่น เท่านี้ก็หอมน้ำลายไหลแล้ว(เชฟว่าอย่างนั้น เมนูนี้ผมไม่ได้ทำกิน เพราะผมไม่กล้ากินกบ555) เวลากินก็กินคู่กับน้ำจิ้มสามรสหรือซอสพริกก็ได้

เทคนิคการทำ กบทอดกระเทียม
กบอย่าสับให้ชิ้นใหญ่ จะทอดสุกยาก ก่อนนำไปหมักต้องใช้ผ้าซับ ซับน้ำให้แห้งไม่อย่างนั้น เวลานำไปทอด น้ำมันจะแตกกระเด็นใส่เอาได้

ข้อมูลโดย
ก้าวหน้าดอทคอม

โรคฉี่หนู

 คำนิยาม 

เชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค : Leptospira interrogans
        
          เป็นเชื้อแบคทีเรียเป็นเส้นเกลียว spirochete เคลื่อนที่โดยการหมุน เชื้อนี้อยู่ตามดิน โคลน แหล่งน้ำ น้ำตก แม่น้ำลำคลองได้นานเป็นเดือน เคยมีรายงานว่าอยู่ได้นาน 6 เดือน ในที่ น้ำท่วมขังโดยมีปัจจัย แวดล้อมเหมาะสม เช่น มีความชื้น แสงส่องไม่ถึง มีความเป็นกรด ปานกลางเกิดจากเชื้อ Leptospira interogans เป็นเชื้อแบคทีเรียมี 16 serogroup เชื้อที่เป็น สาเหตุในกรุงเทพ คือ bataviae และ javanica ส่วนในภูมิภาคเป็น akiyami, icterohemorrhagia มักจะพบการระบาดในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน เนื่องจากเป็นฤดูฝน ต่อหนาว มีน้ำขัง


          โรคฉี่หนู เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อมาจากฉี่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เป็นแหล่งรังโรค เช่น หนู วัว ควาย เชื้อโรคนี้มีชีวิตอยู่ในน้ำได้หลายเดือน และเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล แม้กระทั่งแค่รอยขีดข่วน รอยถลอกก็เข้าได้ หรือโดยการกลืนน้ำที่มีเชื้อโรคเข้าไป เชื้อจะเข้าไปในกระแสเลือดและไปยังอวัยวะต่างๆ ที่สำคัญ คือ ตับ ไต และปอด ส่วนใหญ่จะแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 7-10 วัน


           การติดต่อของเชื้อมาสู่คน 
               เชื้อ L. interrogans มีสัตว์หลายชนิดเป็นรังโรค (Reservoir)สัตว์ที่นำเชื้อได้แก่ พวกสัตว์แทะ เช่น หนู โดยเฉพาะ หนูนา หนูพุก รองลงมาได้แก่ สุนัข วัว ควาย สัตว์พวกนี้ เก็บเชื้อไวในไตเมื่อหนูปัสสาวะ เชื้อจะอยู่ ใน น้ำหรือดิน เชื้อจะถูกขับออกมากับปัสสาวะสัตว์แล้วปน เปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม เช่น แหล่งน้ำขัง เชื้อโรคนี้เข้าสู่ ร่าางกายคน โดยการไชเข้าทางผิวหนังที่มีรอยถลอก หรือ ไชผ่านผิวหนัง ที่เปียกชุ่มจนยุ่ย เยื่อเมือก มีอุบัติการสูง ในผู้ที่สัมผัสดิน และน้ำ เป็นเวลานาน ๆ เช่น ชาวไร่ ชาวนา กรรมกร คนจับปลา
                เมื่อคนสัมผัสเชื้อซึ่งอาจจะเข้าทางแผล เยื่อบุ ในปาก หรือตา หรือแผล ผิวหนังปกติที่เปียกชื้น เชื้อก็สา มารถไชผ่าน ไปได้เช่นกัน
               เชื้ออาจจะเข้าร่างกายโดยการดื่มหรือกินอาหาร ที่มีเชื้อพบได้ ทั่วโลกยกเว้นเขตขั้วโลก เนื่องจากมี สัตว์ทั้งสัตว์เลี้ยง และสัตว์ป่าปล่อยเชื้อนี้กับปัสสาวะ คนติดเชื้อนี้จากการสัมผัสปัสสาวะ หรือดินที่ปนเปื้อน เชื้อนี้

           กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค 
                
เกษตรกร ชาวไร่ชาวนา ชาวสวน
                คนงานฟาณืมเลี้ยงสัตว์ โค สุกร ปลา
                กรรมกรขุดท่อระบายน้ำ เหมืองแร่ โรงฆ่าสัตว์
                กลุ่มอื่นๆ เช่น แพทย์ เจ้าหน้าที่ห้องทดลอง ทหารตำรวจที่ปฏิบัติงานตามป่าเขา
                กลุ่มประชาชนทั่วไป มักเป็นเกิดในที่มีน้ำท่วม ผู้ที่บ้านมีหนูมาก ผู้ที่ปรุงอาหาร หรือรับประทาน อาหารที่ไม่ สุก หรือปล่อยอาหารทิ้งไว้โดยไม่ปิดฝา

           คนรับเชื้อได้ 2 วิธี 
                ทางตรง โดยการสัมผัสสัตว์ที่นำเชื้อ ระหว่างสัตว์ต่อสัตว์ หรือคนต่อคนโดยเพศสัมพันธุ์
                ทางอ้อม โดยเชื้อที่ปนในน้ำ ในดิน เข้าสู่คนทางผิวหนัง หรือเยื่อบุ ที่ตา ปาก จมูก


          อาการแสดงของผู้ป่วยมีหลากหลายตั้งแต่ไม่ แสดง อาการ จนกระทั่งอาการรุนแรงถึงเสียชีวิต โดยมีอาการ คล้ายโรคติดเชื้อ อื่น ๆ หลายโรค เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไข้สมองอักเสบ ไทฟอยด์ ริกเกตเซีย เมลิออยโดสิส โรคนี้จัดอยู่ในกลุ่มโรคที่นำโดยสัตว์ (Zoonosis) หรือ กลุ่มอาการไข้ไม่ทราบสาเหตุ

 อาการที่แสดง
 
      ภาวะเยื่อบุตาบวมแดงเกิดขึ้นในตาทั้งสองข้างภายใน 3 วันแรกของโรค และอยู่ได้นานตั้งแต่ 1-7 วัน อาจจะพบ ร่วมกับเลือดออกที่ตาขาวข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้
      กดเจ็บกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะที่น่อง
      มีเลือดออกแบบต่างๆ โดยเฉพาะในรายที่มีอาการรุนแรง เช่นจุดเลือดออกตามผิวหนัง petichae ผื่นเลือด ออก purpuric spot เลือดออกใต้เยื่อบุตา conjunctival haemorrhage หรือเสมหะเป็นเลือด
      ผื่น อาจจะพบได้หลายแบบ ผื่นแดงราบ ผื่นแดง ผื่นลมพิษ
              อาการเหลือง อาการเหลืองมักเกิดวันที่ 4-6 ของโรค
 ผู้ป่วยจะมีไข้สูง โดยมีอาการแบ่งเป็น 2 ระยะ 
              ระยะที่ 1 - ภายในช่วง 1 อาทิตย์แรกไข้หนาวสั่น ปวดศีรษะรุนแรง ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง มักปวดที่น่องและโคนขา หลังจากนั้นจะเข้าสู่
              ระยะที่ 2 - อยู่ในช่วงสัปดาห์ที่ 2 -3 โดยอาจมีอาการ conjuntival suffusion ตัวเหลือง ไตอักเสบ ม่านตาอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาการทางปอด


 การป้องกัน ควรเริ่มจากการให้ความรู้ด้านสุขศึกษาแก่ กลุ่มเสี่ยง ซึ่งการป้องกันสามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้
           กำจัดหนู
           ควรสวมชุดป้องกัน เช่น รองเท้าบู๊ต ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อผ้า
           หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่เป็นพาหะ ของโรคดังกล่าว
           หลีกเลียงการว่ายน้ำที่อาจจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่
           หลีกเลี่ยงไม่ไปสัมผัสปัสสาวะโค กระบือ หนู สุกร และไม่ใช้แหล่งน้ำที่สงสัยว่าอาจปนเปื้อนเชื้อ
           หลีกเลี่ยงอาหารที่ปล่อยค้างคืน โดยไม่มีภาชนะปกปิด เป็นต้น
           หลีกเลี่ยงการทำงานในน้ำหรือต้องลุยน้ำ ลุยโคลนเป็นเวลานานๆ
           รีบอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายโดยเร็วหากแช่ หรือ ยำลงไปในแหล่งน้ำที่สงสัยว่าอาจปนเปื้อนเชื้อ


 ผู้ที่มีอาการปานกลางอาจจะเลือกยาดังนี้ 
           doxycycline 100 mgวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 7 วัน
           amoxicillin 500 mg วันละ 4 ครั้ง 5-7 วัน

 การรักษาตามอาการและภาวะแทรกซ้อน 
           การให้ยาลดไข้
           การให้ยาแก้ปวด
           การให้ยากันชัก
           การให้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน
           การให้สารน้ำและเกลือแร่

 การรักษาโรคแทรกซ้อน 
           หากเกร็ดต่ำหรือเลือดออกง่ายก็อาจจะจำเป็นต้องให้เกร็ดเลือดหรือน้ำเหลือง
           การแก้ภาวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ
           การแก้ปัญหาตับวาย
           การแก้ปัญหาไตวาย


           หมายถึงเป็นที่พักของเชื้อ สัตว์ที่เป็นแหล่งพักได้แก่ หนู สุกร โค กระบือ สุนัข แรคคูณ สัตว์อาจจะไม่มีอาการ แต่สามารถปล่อยเชื้อได้เป็นเวลาหลายสัปดาห์หรืออาจจะตลอดชีวิตสัตว์ ทำให้มีการติดต่อ ของเชื้อ ในสัตว์
           จากการสำรวจหนูใน 27 จังหวัดเมื่อปี 2508 พบว่าทั้งหนูท่อ หนูบ้าน หนูนา เป็นแหล่งรังโรคที่สำคัญโดยพบ เชื้อ ร้อยละ 10-50 รองลงมาได้แก่สุนัข
           จากการสำรวจหนูนาพบว่าหนูพุกติดีเชื้อร้อยละ 40
           จากการสำรวจสัตว์ในกรุงเทพเมื่อปี 2508 พบว่าหนูท่อติดเชื้อ 66% สุนัขติดเชื้อ 8 % แสดงว่าหนูเป็นตัว แพร่เชื้อ
          การสำรวจเมื่อปี 2540 โดยสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติพบภูมิคุ้มกันในความ 31% โค 28.25% แพะแกะ 27.35 % สุกร 2.15%





โรคไข้เลือดออก
 คำนิยาม 
ภาพแสดงวงจรชีวิตของยุงลาย

     ไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก นอกจากจะเป็นปัญหา สาธารณะสุข ของประเทศไทย แล้วยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่่วโลก โดยเฉพาะประเทศใน เขตร้อนชื้น และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ และมักพบบ่อยในเด็กต่ำกว่า 15 ปี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2-8 ปี  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ใหญ่จะไม่มีโอกาส เป็นโรค ไข้เลือด ออกได้ โดยเฉพาะต้องอาศัยอยู่ในแหล่งที่ชุกชุมไปด้วยยุงตัวร้าย


 สาเหตุของไข้เลือดออก 
     โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย Aedes aegyti ตัวเมีย บินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก โดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไวรัสแดงก็จะ เพิ่มจำนวนในตัวยุง ประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสแดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะ และ ต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อ สู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคน ประมาณ 2 - 7 วัน ในช่วงที่ มีไข้หากยุงกัดคนในช่วงนี้ ก็จะรับเชื้อไวรัส มาแพร่ ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออก หากิน ในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และ โรงเรียน ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มี น้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ใน ท่อระบายน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง


 อาการของไข้เลือดออก 
        อาการของไข้เลือดออกไม่จำเพาะอาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียง อาการไข้และ ผื่นในผู้ใหญ่อาจจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อหากไม่คิดโรค นี้อาจจะทำให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิต ลักษณะที่สำคัญของไข้เลือกออกมีอาการ สำคัญ 4 ประการคือ
           ไข้สูงลอย : ไข้ 39-40, มักมีหน้าแดง, โดยมักไม่ค่อยมีอาการน้ำมูกไหล หรือไอเด็กโต อาจ มีอาการ ปวดเมื่อยตามตัว และปวดศีรษะ อาการไข้สูงมักมีระยะ 4-5 วัน
           อาการเลือดออก : เลือดกำเดาไหล, เลือดออกตามไรฟัน, เลือดออกในกระเพาะ โดยจะมีอาการ อาเจียนเป็นเลือด หรือ ถ่ายดำ, จุดเลือดออกตามตัว
           ตับโต
           ความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด หรือ ช็อค  :
          มักจะเกิดช่วงไข้จะลดโดยผู้ป่วย จะมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น รอบปากเขียว อาจมีอาการปวดท้องมาก ก่อนจะมีอาการ ช็อค ชีพจรเบาเร็ว ความดันต่ำ


     โรคไข้เลือดออก ไม่มีการรักษาเฉพาะ การรักษาเป็นเพียงการประคับประคองอย่างใกล้ชิด โดยการเฝ้าระวัง ภาวะช็อค และเลือดออก และการให้สารน้ำอย่างเหมาะสมก็จะทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลง โดยทั่วไปการดูแลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก มีแนวทางการดูแลอย่างใกล้ชิด ประมาณนี้
           ให้ยาลดไข้, เช็ดตัวลดไข้ ยาลดไข้ที่ควรใช้คือ Paracetamol ไม่ควรใช้ยาจำพวก แอสไพรินเนื่องจากจะทำให้ เกร็ดเลือดผิดปกติ และระคายกระเพาะอาหาร
           ให้สารน้ำชดเชย เนื่องจากผู้ป่วยมักมีภาวะขาดน้ำ เนื่องจากไข้สูง เบื่ออาหาร  และ อาเจียน ในรายที่พอทานได ้ให้ดื่มน้ำเกลือแร่บ่อย ๆ ในรายที่ขาดน้ำมาก หรือ  มีภาวะเลือดออก  เช่น อาเจียน หรือ ถ่ายเป็นเลือดต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้สารน้ำทางเส้นเลือด
           ติดตามดูอาการใกล้ชิด ถ้ามีอาการปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลง กระสับกระส่าย  มือเท้าเย็น โดยเฉพาะในช่วงไข้ลดต้องรีบ นำส่งโรงพยาบาลทันที
           ตรวจนับจำนวนเกร็ดเลือด และความเข้มข้นของเลือดเป็นระยะ เพื่อใช้พิจารณาปริมาณการให้สาร น้ำชดเชย



        ทุกวันนี้ยังไม่ยาที่ใช้รักษาไข้เลือดออก หรือ วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก ดังนั้นการป้องกันจึงเป็น วิธีที่ดีที่สุด โดยป้องกัน การแพร่ของยุง เท่าที่ผ่านมา การควบคุมยังได้ผลไม่ดี เนื่องจากเน้นเรื่องการ ทำลายยุงซึ่งสิ้นเปลืองงบประมาณ และการควบคุมยุง ต้องทำเป็นบริเวณกว้างการควบคุม ที่จะให้ผลยั่งยืน ควรจะเน้นที่การควบคุมลูกน้ำ การควบคุม สามารถร่วมหน่วยงานราชการอื่น องค์กรเอกชน ท้องถิ่น ดังนั้น การควบคุมที่ดีต้อง บูรณาการ เอาหน่วยงานที่มีอยู่ และวิธีการต่าง ๆ (การควบคุม สิ่งแวดล้อม การใช้ทาง ชีวภาพ การใช้สารเคมี)


 การควบคุมสิ่งแวดล้อม Environmental management 
          การควบคุมสิ่งแวดล้อมเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ยุงมีการขยายพันธุ์
           แทงค์ บ่อ กะละมัง ที่เก็บกักน้ำจะเป็นแหล่งที่ยุงออกไข่ และกลาย เป็นยุง ต้องมีฝาปิดและหมั่น ตรวจสอบว่ามีลูกน้ำ หรือไม่
           ให้ตรวจรอยรั่วของท่อน้ำ แทงค์น้ำหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับน้ำ ว่ารั่วหรือไม่ โดยเฉพาะฤดูฝน
           ตรวจสอบแจกัน ถ้วยรองขาโตะ๊ ต้องเปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์ สำหรับแจกัน อาจจะใส่ทรายผสมลงไป ส่วยถ้วยรองขาโต๊ะ ให้ใส่เกลือเพื่อป้องกันลูกน้ำ
           มั่นตรวจสอบถาดรองน้ำที่ตู้เย็นหรือเครื่องปรับอากาศ เพราะเป็นที่แพร่พันธุ์ของยุง โดยเฉพาะถาด ระบายน้ำของ เครื่องปรับอากาศซึ่งออกแบบไม่ดี โดยรูระบายน้ำอยู่เหนือก้นถาด หลายเซ็นติเมตร ทำให้มีน้ำขังซึ่งเป็นแหล่งเพาะ พันธุ์ยุง
           ตรวจรอบ ๆ บ้านว่าแหล่งน้ำขังหรือไม่ ท่อระบายน้ำบนหลังคา มีแอ่งขังน้ำ หรือไม่หากมีต้องจัดการ
           ขวดน้ำ กระป๋อง หรือภาชนะอื่นที่อาจจะเก็บขังน้ำ หากไม่ใช้ให้ใส่ถุง หรือฝังดินเพื่อไม่ให้น้ำขัง
           ยางเก่าที่ไม่ใช้ก็เป็นแหล่งขังน้ำได้เช่นกัน
           หากใครมีรัวไม้ หรือต้นไม้ที่มีรูกลวง ให้นำคอนกรีตเทใส่ปิดรู ต้นไผ่ต้องตัดตรงข้อและให้เทคอน กรีตปิดแอ่งน้ำ

 การป้องกันส่วนบุคคล 
           ใส่เสื้อผ้าที่หนาพอสมควร ควรจะใส่เสื้อแขนขาว และการเกงขายาว เด็กนักเรียนหญิงก็ควรใส่ กางเกง
           การใช้ยาฆ่ายุง เช่น pyrethrum ก้อนสารเคมี
           การใช้กลิ่นกันยุงเช่น ตะไคร้ หรือสารเคมีอื่น ๆ
           นอนในมุ้งลวด หรือมุ้ง

 การควบคุมยุงโดยทางชีวะ 
           เลี้ยงปลาในอ่างที่ปลูกต้นไม้ หรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ
           ใช้แบคทีเรียที่ผลิตสาร toxin ฆ่ายุงได้แก่เชื้อ Bacillus thuringiensis serotype H-14 (Bt.H-14) and Bacillus sphaericus (Bs)
           การใช้เครื่องมือดัดจับลูกน้ำซึ่งเคยใช้ได้ผลที่สนาบบินของสิงคโป แต่สำหรับกรณีประเทศไทย ยังได้ผลไม่ดีเนื่องจากไม่ สามารถควบคุมแหล่งน้ำธรรมชาติ จึงยังมีการแพร่พันธ์ของยุง

 การใช้สารเคมีในการควบคุม 
           การใช้ยาฆ่าลูกน้ำ วิธีการนี้จะสิ้นเปลืองและไม่เหมาะ ที่จะใช้อย่าง ต่อเนื่อง วิธีการนี้จะเหมาะสำหรับ พื้นที่ที่มีการระบาด และได้มีการสำรวจ พบว่ามีความชุก ของยุงมากกว่า ปกติ
           Temephos 1% sand granulesโดยการ ใส่ทรายที่มีสารเคมีนี้ ตามอัตราส่วนที่กำหนดซึ่งไม่ อันตรายต่อคน
           การใช้สารเคมีพ่นตามบ้านเพื่อฆ่ายุง วิธีการนี้ใช้ในประเทศเอเซีย หลายประเทศมามากกว่า 20 ปี แต่จากสถิติของการระบาดไม่ได้ ลดลงเลย การพ่น หมอกควันเป็นรูปม ธรรมที่มองเห็นว่ารัฐบาลได้ทำ อะไรเกี่ยวกับ การระบาด แต่การพ่นหมอกควันไม่ได้ ลดจำนวนประชากรของยุง ข้อเสียคือทำให้คนละเลย ความปลอดภัยการพ่นหมอกควัน จะมีประโยชน์ ในกรณีที่มีการระบาดของโรค ไข้เลือดออก


 การปฏิบัติเมื่อมีคนในบ้าน/ข้างบ้านเป็นไข้เลือดออก 
           เนื่องจากไข้เลือดออกระบาดโดยมียุงเป็นตัวแพร่พันธ์ ดังนั้น เมื่อมีคนในบ้านหรือข้างบ้านเป็น ไข้เลือดออกควรจะบอกคนในบ้าน หรือข้างบ้านว่ามีไข้เลือดออกด้วย และแจ้ง สาธารณสุขให้มาฉีดยา หมอกควันเพื่อฆ่ายุง  รวมถึงดูแลให้สมาชิกในครอบครัว ป้องกันการถูก ยุงกัด สำรวจภายในบ้าน รอบบ้าน รวมทั้งเพื่อนบ้านว่ามีแหล่งแพร่พันธ์ยุงหรือไม่ หากมีให้รีบ จัดการ และทำลายแหล่ง
           นอกจากนี้ต้องคอยระวังเฝ้าดูอาการของ สมาชิกในบ้านหรือข้างบ้านว่ามีไข้หรือไม่ หากมีไข้ ให้ระวังว่าอาจจะเป็น ไข้เลือดออกได้  




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก